เอ็นรองฝ่าเท้าอักเสบ หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า โรครองช้ำ เป็นอาการบาดเจ็บที่พบบ่อย โดยเฉพาะในผู้ที่ต้องยืนหรือเดินเป็นเวลานาน หรือเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในนักวิ่ง เนื่องจากการวิ่งเป็นกิจกรรมที่ต้องใช้เท้ารับน้ำหนักและรับแรงกระแทกอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานๆ การวิ่งที่ไม่ถูกวิธีเนื่องจากการวางเท้าที่ไม่ถูกต้อง หรือการฝึกซ้อมที่หนักเกินไป อาจทำให้เอ็นรองฝ่าเท้าเกิดการอักเสบและฉีกขาดได้เหมือนกันครับ
เอ็นรองฝ่าเท้าเป็นเนื้อเยื่อที่แข็งแรง เชื่อมต่อกระดูกส้นเท้ากับปลายนิ้วเท้า มีหน้าที่รองรับน้ำหนักตัวและช่วยให้เท้ามีความยืดหยุ่น เมื่อเอ็นส่วนนี้เกิดการอักเสบหรือฉีกขาด ก็จะทำให้เกิดอาการปวด
ทำไมนักวิ่งถึงเป็นเอ็นรองฝ่าเท้าอักเสบได้ง่าย?
1. นักวิ่งที่ซ้อมวิ่งเป็นประจำก็จะมีการใช้งานฝ่าเท้ามากและเป็นเวลานาน ทำให้เอ็นรองฝ่าเท้าได้รับการใช้งานหนักเกินไป
2. การเลือกใช้รองเท้าวิ่งที่ไม่เหมาะสม เช่นรองเท้าวิ่งที่เก่าหรือไม่รองรับสรีระของเท้า หรือรองเท้าไม่มีการ Support ที่เพียงพอที่จะรองรับแรงกระแทกขณะวิ่งก็ได้
3. เทคนิคการวิ่ง หรือการวางเท้าวิ่งที่ไม่ถูกต้อง การลงเท้าที่ไม่ถูกวิธี การวิ่งด้วยเท้าหน้าหรือหลังเท้าเกินไป อาจเพิ่มแรงกดทับที่เอ็นรองฝ่าเท้า การวิ่งที่ ที่เรียว่า Over stride ที่เกิดจากการก้าวยาว จนการลงเท้า ไกลเกินกว่าแนวลำตัวและศีรษะทำให้มีแรงกระแทก ทำต่อข้อต่อมากขึ้น ทั้งข้อเท้า หน้าแข้งและเข่าทำให้บาดเจ็บจากการวิ่งได้
4. สนามซ้อมวิ่งที่ไม่ดี พื้นผิวที่แข็งหรือไม่เรียบ อาจทำให้เกิดแรงกระแทกที่มากเกินไป
5. การเพิ่มปริมาณการฝึกซ้อมที่มากเกินไป เช่นการวิ่งที่มีความเร็วเพิ่มขึ้นบ่อยครั้งและเร็ว หรือการเพิ่มระยะทางการซ้อมที่มากขึ้น อาจทำให้ร่างกายปรับตัวไม่ทัน
อาการของเอ็นรองฝ่าเท้าอักเสบที่พบบ่อยๆ
1. มีอาการปวดส้นเท้าโดยเฉพาะตอนเช้าเมื่อเพิ่งลุกจากเตียง
2. มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อยืนหรือเดินนานๆ
3. มีอาการปวดบริเวณกลางฝ่าเท้า
4. มีอาการรู้สึกตึงที่น่อง
การรักษาเอ็นรองฝ่าเท้าอักเสบ
1. การพักผ่อนและลดความเข้มข้นของการซ้อม จะช่วยให้ไม่เสี่ยงต่อการบาดเจ็บ หรือหลีกเลี่ยงกิจกรรมต่างๆที่ส่งผลที่ทำให้ปวด
2. การประคบเย็นและประคบร้อน เพื่อช่วยลดอาการอักเสบ
3. การยืดเหยียดหลังวิ่ง เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นของเอ็น
4. การใช้ ยาลดอักเสบ หรือยาแก้ปวด อันนี้ไม่แนะนำเท่าไร แต่ถ้าไม่ดีขึ้นก็ต้องใช้แต่ต้องใช้ในปริมาณไม่มาหรือบ่อยจนเกินไป
5. การสวมใส่รองเท้าที่เหมาะสมและเลือกรองเท้าที่มีพื้นนุ่ม รองรับอุ้งเท้าได้ดี ซึ่งมีมากมายให้เลือกใช้
6. ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เช่นแพทย์กายภาพบำบัด ที่จะช่วยแนะนำ และมี Treatment ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรงของเท้า
7. การฉีดยา อันนี้จะใช้ก็ในกรณีที่อาการรุนแรงจริงๆ และแพทย์อาจพิจารณาฉีดยาคอร์ติโคสเตียรอยด์
8. การผ่าตัด ในกรณีที่อาการไม่ดีขึ้นหลังจากการรักษาทุกวิธีดังที่กล่าวไว้ข้างต้น
หากเพื่อนมีอาการปวดส้นเท้า ควรรีบปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้องนะครับ ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลทั่วไปซึ่งพบได้บ่อย แต่คำแนะนำของแพทย์จะดีที่สุดครับ เพราะนักวิ่งทุกคนมีลักษณะการวิ่ง หรืออาการที่อาจจะแตกต่างกันได้ครับ
ขอให้ทุกท่านวิ่งอย่างมีความสุขและสุขภาพแข็งแรงครับผม