การฝึกแบบ Interval Training ใช้เวลาฝึกน้อยแต่ได้ผลลัพธ์ที่มีคุณภาพและมีประโยชน์มากมาย บทความนี้จะขอพูดถึงประโยชน์ของการฝึกแบบเน้นๆว่ามีอะรบ้าง
1. การฝึก Interval ช่วยพัฒนาความเร็วและความทนทาน มันช่วยเพิ่มศักยภาพในการวิ่งของเรา ทำให้เราสามารถเร่งทำความเร็วในระยะทางที่ยาวขึ้นเรื่อยยิ่งฝึกยิ่งวิ่งเร็วไได้มากขึ้น เพราะร่างกายเรานั้นได้มีการพัฒนาระบบพลังงานแบบแอนแอโรบิก (Anaerobic System) เมื่อวิ่งในช่วงความเร็วสูง ร่างกายจะใช้พลังงานแบบแอนแอโรบิกเป็นหลัก ซึ่งเป็นระบบที่ช่วยเพิ่มความเร็วในระยะสั้น เพราะฉะนั้นการฝึก Interval จะช่วยให้ร่างกายสามารถปรับตัวและใช้พลังงานจากระบบนี้ได้ดีขึ้นนั้นเอง
2. เพิ่ม VO2 Max อย่างที่เราทราบกันดีว่า VO2 Max คือปริมาณออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายสามารถใช้ได้ระหว่างการออกกำลังกาย เพราะฉะนั้นการฝึก Interval ช่วยกระตุ้นให้ระบบไหลเวียนโลหิต หัวใจ และปอด ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ร่างกายใช้และส่งออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เมื่อตัวเลข VO2 Max สูงขึ้น จะสามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงได้นานขึ้น จะเห็นได้ว่าการฝึกวิ่งเร็วจะพัฒนาการลำเลียงออกซิเจนและสารอาหาร ช่วยเพิ่มการทำงานของระบบไหลเวียนโลหิต ทำให้เลือดลำเลียงออกซิเจนและสารอาหารไปยังกล้ามเนื้อได้ดีขึ้น เมื่อกล้ามเนื้อที่ได้รับออกซิเจนเพียงพอจะใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. การฝึก Interval เพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ เพราะช่วงที่วิ่งเร็วมันจะช่วยสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อเฉพาะที่ใช้ในการวิ่ง เช่น กล้ามเนื้อต้นขา, กล้ามเนื้อแกนกลาง, และกล้ามเนื้อน่อง เมื่อกล้ามเนื้อที่แข็งแรงช่วยสนับสนุนการเร่งความเร็วและลดความเสี่ยงในการบาดเจ็บ
4. การวิ่งเร็วในช่วง Interval พัฒนาระบบประสาท-กล้ามเนื้อ (Neuromuscular System) ทำให้สมองและระบบประสาทสั่งงานกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
เพิ่มการประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อและความเร็วในการตอบสนอง ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเร็ว
5. เพิ่มความทนทานต่อความเหนื่อยล้า (Lactate Threshold) การฝึกในระดับความเข้มข้นสูงช่วยให้ร่างกายสามารถจัดการกับกรดแลคติก (Lactic Acid) ได้ดีขึ้น
ทำให้สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงได้นานขึ้นก่อนที่จะรู้สึกล้า ตรงจุดนี้เองจะเห็นได้ว่าเมื่อร่างกายเราสามารถพัฒนาความสามารถในการจัดการกรดแลคติก ร่างกายจะกำจัดกรดแลคติกได้เร็วขึ้น ทำให้สามารถใช้พลังงานต่อเนื่องได้โดยไม่ลดประสิทธิภาพ
6. เพิ่มการเผาผลาญไขมัน ช่วงที่วิ่งช้าใน Interval Training ร่างกายจะดึงพลังงานจากไขมันมาใช้มากขึ้น
หลังจบการฝึก ร่างกายยังคงเผาผลาญพลังงานอย่างต่อเนื่อง (Afterburn Effect) ซึ่งช่วยลดไขมันสะสมและเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน
7. ร่างกายจะเพิ่มการเก็บและใช้ไกลโคเจนอย่างคุ้มค่า เพราะการฝึก Interval ช่วยให้ร่างกายเรียนรู้ที่จะเก็บรักษาพลังงานจากไกลโคเจน (Glycogen) ในกล้ามเนื้อและตับ
ทำให้สามารถวิ่งด้วยความเร็วสูงโดยใช้พลังงานอย่างประหยัดและยืดระยะเวลาในการหมดแรง
8. แน่นอนว่าการฝึก Interval Training ใช้เวลาสั้นกว่า แต่ให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงหรือดีกว่าการวิ่งแบบต่อเนื่องยาวๆ เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับนักวิ่งที่มีเวลาจำกัด
ถึงแม้ว่าการฝึกแบบ Interval จะมีประโยชน์มาก แต่ก็ควรฝึกสลับกับโปรแกรมฝึกอื่นๆด้วยนะครับ อย่าฝึกบ่อยเกินไป เพราะร่างกายอาจจะได้รับบาดเจ็บได้ ควรมีการพักผ่อนให้ร่างกายได้ฟื้นฟูเต็มที่